โหมดสำหรับการสื่อสารไฟเบอร์ออพติก

Last updated: 1 ก.ค. 2563  |  3574 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โหมดสำหรับการสื่อสารไฟเบอร์ออพติก

การสื่อสารด้วยไฟเบอร์ออพติกเป็นการส่งดาต้าผ่านแสง( Lightwave for Data Communication) หมายความว่าเราจะแปลงดาต้า(ข้อมูลที่ต้องการส่งไปยังปลายทาง) แล้วฝาก(modulation) ไปกับแสงที่เป็นตัวพาหะ(Carrier) เพื่อส่งผ่านตัวกลางที่เรียกว่าไฟเบอร์ออพติก

ความยาวคลื่นแสงหรือ wavelength (λ หน่วย nm) ที่เป็นพาหะซึ่งใช้ในการส่งผ่านสายไฟเบอร์ออพติก จะมีความยาวตั้งแต่ 800nm ไปจนถึง 1,600nm ทั้งนี้ความยาวคลื่นแสงจะสัมพันธ์กับความถี่ของแสง(Frequency Wavelength)โดย 

  λ = c/f  

  • λ (แลมด้า) = ความยาวคลื่น หน่วย เมตร(m) สำหรับการใช่้งานจริงเราจะแปลงเป็นหน่วย nm (อ่านว่า นาโมเมตร, 10ยกกำลัง -9) เพื่อให้ง่ายต่อการใช้
  • c = ความเร็วแสง 300,000 เมตรต่อวินาที (m/s)
  • f = ความถี่ หน่วย เฮิร์ต(Hz)

       *เพื่อให้บทความกระชับและศึกษาเบื้องต้น ทฤษฎีเกี่ยวกับแสงจะไม่ขอกล่าวในที่นี้

คราวนี้เรามาดูกันว่าการใช้งานจริงๆสำหรับการส่งดาต้าผ่านทางแสงนั้น เขามีการแบ่งอย่างไร และมีอะไรบ้าง 

โดยทั่วไปเราจะจำแนกออกเป็นโหมดการส่งและประเภทของไฟเบอร์ออพติกในแต่ละโหมด สำหรับ

  1. ไฟเบอร์ออพติกประเภทส่งได้หลายโหมด หรือเรียกว่า Multimode (MM)
  2. ไฟเบอร์ออพติกประเภทส่งได้โหมดเดียว หรือเรียกว่า Singlemode (SM)

Multimode สามารถส่งดาต้าผ่านแสงที่ความยาวคลื่น 850nm และ1300nm โดยที่นิยมใช้มีขนาด core/cladding 2 ขนาดคือ 50/125um และ 62.5/125um 

Singlemode สามารถส่งดาต่าผ่านแสงที่ความยาวคลื่น 1310nm, 1490nm และ 1550nm โดยที่นิยมใช้มีขนาด core/cladding คือ 9/125um

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้